สรุป PANEL DISCUSSION #1

PANEL DISCUSSION#1

What will future schooling look like? อยากเห็นการศึกษาไทยเป็นแบบใดในทศวรรษหน้า

ดำเนินรายการโดย

ดร. วรวรงค์ รักเรืองเดช

นพ.ธีเกียรติ เจริญเศรษฐสิลป์
ประธานคณะกรรมการ PISA แห่งชาติ

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์

ประธานคณะกรรมการ PISA แห่งชาติ

คุณณิชา พิทยาพงศกร

นักวิจัยอาวุโส TDRI

คุณสรวิศ ไพบูลย์รัตนากร

ผู้ก่อตั้งและ CEO Saturday school

สรุปการบรรยาย

การศึกษาไทยในอนาคตจะเป็นอย่างไร

  1. รูปแบบการเรียนรู้ที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่เรียนรู้ได้หลายวิชาภายใต้สถานการณ์หรือกิจกรรมเดียวกัน โดยเนื้อหาและตัวอย่างสถานการณ์สอดคล้องกับสถานการณ์โลกในขณะนั้น เช่น โรคระบาด หรือ Climate change

  1. สถานศึกษาในอนาคต

มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง เป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตนเอง และมีนักออกแบบการเรียนรู้ช่วยออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน ครูมีบทบาทเป็น Facilitator ช่วยผู้เรียนค้นหาความสนใจของตัวเองได้ และรู้จักการต่อยอดการเรียนรู้ของตนเองนอกห้องเรียน

  1. ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนในการเรียนรู้ของผู้เรียน

ปัจจุบันรูปแบบการทำงานของผู้ปกครองมีความหลากหลายและมีความยืดหยุ่นสูง สามารถแบ่งเวลามาดูแลการศึกษาของบุตรหลานได้มากขึ้น นอกจากนี้ชุมชนที่มีเอกลักษณ์ต่างกันสามารถเป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ให้กับเยาวชนได้มากขึ้น

ข้อเสนอเพื่อให้การศึกษาไทยเป็นไปตามที่คาดหวัง

  1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไทย

ปรับรูปแบบการกำกับดูแลของหน่วยงานให้บุคลากรทางการศึกษามีอิสระในการทำงาน เกิดการเรียนรู้จากการทดลองทำ และพัฒนาตนเอง นอกจากนี้จัดนโยบายด้านการศึกษายังให้ยืดหยุ่น มีเข้าใจในบริบทของการนำไปใช้จริง และจัดสรรงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ

  1. บุคลากรทางการศึกษา

ควรคำนึงถึงความต้องการการเรียนรู้ของผู้เรียน และเข้าใจในแรงจูงใจ ความสนใจและเป้าหมายของผู้เรียน  ปรับให้โรงเรียนเชื่อมต่อกับโลกปัจจุบัน โดยให้การเรียนตอบโจทย์กับสิ่งที่ผู้เรียนสนใจ โดยจัดการเรียนรู้ให้เชื่อมโยงกับชีวิตจริง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนรู้ว่าจะนำสิ่งที่เรียนรู้ในโรงเรียนไปใช้ในชีวิตได้อย่างไร

ร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .....

  • เพิ่มลักษณะการเรียนรู้แบบ Active learning
  • มีการระบุสมรรถนะและความคาดหวังของผู้เรียนในแต่ละช่วงวัย
  • มีส่วนร่วมมากขึ้นจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน

“The End of Education is Character.”

ทุกคนมีส่วนช่วยเปลี่ยนแปลงการศึกษาให้ดีขึ้นได้ โดยต้องเริ่มเปลี่ยนที่ตัวเรา เมื่อเห็นภาพอนาคตที่ต้องการแล้ว
การตัดสินใจที่จะทำหรือไม่ทำอะไร ก็จะส่งผลต่ออนาคตทั้งสิ้น จึงต้องตัดสินใจให้ถี่ถ้วนในทุกเรื่อง

Infographic