สรุป PANEL DISCUSSION #3

Where are you in the education ecosystem? ความสำคัญของการมีส่วนร่วมในภาคการศึกษา

ดำเนินรายการโดย ดร.เขมวดี พงศานนท์

ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช

รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

คุณเขมนรินทร์ รัตนาอัมพวัลย์

รองประธานและประธานพันธกิจด้านการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย

คุณสลิลาทิพย์ ทิพยไกรศร

อาจารย์สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คุณไพรัช ชัยชาญ

ประธานเครือข่ายผู้ปกครอง
โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี

สรุปการบรรยาย

นพ.ธีเกียรติ เจริญเศรษฐสิลป์
ประธานคณะกรรมการ PISA แห่งชาติ

ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช

รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

  • นโยบายของ สพฐ. “ปลดล็อค ปรับเปลี่ยน เปิดกว้าง สพฐ.วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ”  ขับเคลื่อนผ่าน 4 มิติ ได้แก่ ความปลอดภัย โอกาส คุณภาพ ประสิทธิภาพ
    • การพัฒนาการเรียนการสอนสมรรถนะผู้เรียนสู่เด็กไทยในศตวรรษที่ 21 เน้นความรู้ ทักษะ Attitude and Value
    • โรงเรียนทั่วไปปรับการเรียนการสอนส่งเสริมสมรรถนะโดยใช้หลักสูตร 51 แล้วเพิ่ม attitude and value ผ่านการเรียนรู้แบบ Active learning
    • โรงเรียนในเขตพื้นที่นวัตกรรมมีความยืดหยุ่นในการปรับการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะโดยใช้กรอบหลักสูตรฐานสมรรถนะของ CBE Thailand
  • เป้าหมายเด็กในอนาคต
    • เน้นความรู้ตามความถนัด ความสนใจ เหมาะสมกับช่วงวัย
    • เป็นเจ้าของการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
    • มีสมรรถนะที่สำคัญติดตัวไปใช้ในการดำรงชีวิต
    • มีเป้าหมายและเส้นทางการเรียนรู้ของตนเอง
    • รู้เท่าทันและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง
    • เป็นผู้เรียนรู้ ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
    • มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
  • อาศัยการมีส่วนร่วมและความร่วมมือจากหลายภาคส่วนโดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ การพัฒนาผู้เรียน โดยมีแนวคิดว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกสถานการณ์
  • อาศัยความร่วมมือจาก สพฐ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานอื่น มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง ภาคเอกชน ในการฝ่าวิกฤติการปิดโรงเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 โดยใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และดิจิทัล

คุณเขมนรินทร์ รัตนาอัมพวัลย์

รองประธานและประธานพันธกิจด้านการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย

  • Vision ยกระดับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมดิจิตอลไทยก้าวไกลสู่ระดับสากเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดียิ่งขึ้น
  • พบปัญหาเด็กจบใหม่ตกงานเนื่องจาก skill mismatch อาชีพที่เปลี่ยนไป การนำดิจิทัลมาใช้ในบางอาชีพ ในขณะเดียวกัน บริษัทเอกชนก็ยังหาคนที่มี skill ตรงกับสายงานไม่ได้
  • เป้าหมาย คือ ยกระดับทักษะด้านดิจิทัลของประชากรไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับภูมิภาค โดยต้องการเพิ่มจำนวนประชากรที่อยู่ในระดับ standard (สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลองงาน) และระดับ advanced (ผู้เชี่ยวชาญ มีความรู้ทางเทคนิคการเขียนโปรแกรม สร้างนวัตกรรม สร้างองค์ความรู้ได้)
  • กลุ่มเป้าหมาย คือ แรงงานในปัจจุบัน นักศึกษามหาวิทยาลัย นักเรียนอาชีวศึกษา เด็กและเยาวชน

 

ให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมในภาคการศึกษา

1. ระบบการศึกษาที่ต้องเห็นคุณค่าในยุคแห่งความผันผวน

  • สร้างผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลเมืองโลก (world citizen) เป็นเลิศด้านวิชาการ ภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตผลงานอย่างสร้างสรรค์ โดยการยกระดับการจัดการเรียนการสอน ยกระดับบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ
  • นำ e-learning เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาและส่งเสริมการเติบโตของบุคคลากร และครูในภาวะวิกฤติ มีความแตกต่างกันในแต่ละสถานที่ บุคคล เนื่องจากเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในภาวะวิกฤติซึ่งไม่ได้มีการเตรียมตัว เตรียมความพร้อมมาก่อน

2. ช่องว่างที่ยังต้องการการเติมเต็มเพื่อให้ระบบการศึกษาไทยไปให้ถึงฝัน

  • ความพร้อมด้านระบบ เครือข่าย อุปกรณ์
  • ความพร้อมด้านทักษะของครูอาจารย์ ผู้ปกครอง และผู้เรียน
  • นโยบายการใช้ e-learning for education กำหนดเกณฑ์การเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ
  • มาตรฐานการนำ e-learning ไปใช้ประกอบการสอนในแต่ละหลักสูตร
  • มาตรฐานสัดส่วนของสื่อ e-learning ในแต่ละช่วงวัย
  • มาตรฐานการผลิตสื่ออย่างมีคุณภาพ
  • มาตรฐานการวัดและประเมินผล

3. ความสำคัญของการมีส่วนร่วมและบทบาทของแต่ละหน่วยงานเพื่อสร้าง ecosystem ที่สนับสนุนให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมกับการรับมือความผันผวน

คุณสลิลาทิพย์ ทิพยไกรศร

อาจารย์สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

การเปลี่ยนแปลงไม่ได้น่ากลัว แต่ที่น่ากลัว คือ

  1. เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่มีการเตรียมความพร้อม ที่ผ่านมามีการปรับตัวเข้าสู่ digital อยู่แล้ว เช่น ThaiMooc แต่ Covid ทำให้ทุกอย่างเกิดขึ้นภายในเวลาอันสั้น ทำให้เกิดการปรับตัวไม่ทัน
  2. เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและซับซ้อน โควิดเป็นจุดเริ่มต้นทำให้เกิด new normal ทางธุรกิจและการศึกษา ปัจจุบันเรียนออนไลน์มาแล้ว เกือบ 2 ปี นักเรียนนักศึกษามีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปแล้ว การเรียน องค์ความรู้ การสอน การวัดผล ecosystem ของการเรียนการสอน การทำธุรกิจ skills business model เปลี่ยนแปลงไปแล้ว หลังจากวิกฤติพฤติกรรมนักเรียนจะกลับมาสู่ pre Covid ได้หรือไม่
  3. เกิดขึ้นในวงกว้าง ทุกวงการ ทุกอุตสาหกรรม ทุกคน ทุกประเทศ ทั่วโลก
  • ก่อนสถานการณ์โควิด เป็นการเลือกที่จะปรับตัว แต่โควิดบังคับทุกคนให้เปลี่ยนแปลง ทั้งวิธีการเรียน การสอน การวัดผล รวมทั้งวงการธุรกิจ การทำธุรกิจในรูปแบบใหม่
  • สถาบันการศึกษาถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลง โดยการศึกษาต้องกลับไปหาจุดดั้งเดิม คือ หา pain point ของอุตสาหกรรม
  • สิ่งที่สำคัญที่สุดของการศึกษา คือ ต้องเน้นให้ทุกคนสามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง
  • เด็กในอนาคตต้องมี multi skills เพื่อจะสามารถปรับตัวได้
  • รูปแบบการเรียนการสอนอาจจะเป็น Hybrid มากขึ้น ผสมระหว่าง online และ offline
  • เด็กยุคใหม่จะทำงานไปด้วย เรียนไปด้วยมากขึ้น เนื้อหาที่สอนอาจจะต้องเปลี่ยนไป ต้องสอนให้เด็กพร้อมที่จะทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยได้
  • Knowledge Skills Attitude ต้องมีการปรับตัวเพื่อให้นักเรียนเท่าทันการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นครูต้องมีการปรับตัว

ช่องว่างที่ยังต้องการการเติมเต็มเพื่อให้แก่ระบบการศึกษาเพื่อไปให้ถึงฝัน

คุณไพรัช ชัยชาญ

ประธานเครือข่ายผู้ปกครอง

โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี

  • ปัญหาที่คนมองไม่เห็นในช่วง Covid-19 คือ ปัญหาที่กระทบผู้ปกครอง
  • ความพร้อมของผู้ปกครองมีความหลากหลาย แตกต่าง เช่น การจัดหาอุปกรณ์ การใช้เวลาในการดูแล
  • การเรียนออนไลน์โดยเฉพาะเด็กเล็ก นักเรียนได้รับความรู้น้อยกว่า onsite พื้นฐานความรู้ไม่ต่อเนื่องไปสู่ระดับที่สูงขึ้น
  • เด็กที่ประสบความสำเร็จเกิดจากพื้นฐานของนักเรียนเองที่มีความขยัน มีความตั้งใจ แต่เด็กเหล่านี้มีไม่น่าเกิน 30%
  • เด็กที่เหลือมีปัญหาในการควบคุมตัวเอง เด็กที่มีปัญหา มีความสนใจน้อย ในที่สุดก็จะหลุดจากระบบในอนาคต
  • ปัญหาที่พบการเรียนออนไลน์ คือ การเข้าถึงอินเตอร์เนต ค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงอินเตอร์เนต ค่าใช้จ่ายในการดูแลเด็กที่เรียนออนไลน์ที่บ้าน กระทรวงศึกษาควรเข้ามาช่วยเหลือ
  • ยังมองว่าการเรียน onsite สำคัญที่สุด โรงเรียนต้องมีมาตรการในการดูแลในระบบ onsite เข้มข้นมากขึ้น ไม่ควรใช้การสอนแบบออนไลน์เพียงอย่างเดียวในการรับมือกับปัญหาการติดเชื้อของนักเรียนในโรงเรียน
 

ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช

 
  • เป้าหมายของกระทรวงศึกษา คือ พยายามเปิด onsite โดยมีมาตรการจากความพยายามของกระทรวงศึกษา มหาดไทย สาธารณสุข
  • สิ่งที่ต้องการเติมเต็มให้สมบูรณ์ คือ
    • ดูแลช่วยเหลือนักเรียนรายบุคคล
    • เติมส่วนที่ขาดให้โรงเรียนที่ไม่ได้เปิด onsite
    • การทำ PLC ของครู การมีพี่เลี้ยง
    • การมีส่วนร่วมจาดผู้ปกครอง/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม ชุมชน กรรมการสถานศึกษา พบปัญหาในการเรียนออนไลน์ จึงเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมในการแก้ปัญหา
  • สิ่งที่ต้องการเติมเต็ม

1) ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางจากหน่วยงานภายนอกเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ไม่สะดุดของนักเรียน “อยากรู้ต้องได้รู้”

2) การเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ในทุกพื้นที่เพื่อเกิดการเรียนรู้จากของจริง จับต้องได้

3) PLC ครู พี่เลี้ยง พาทำและส่งเสริมกระบวนการ active learning

4) เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยที่ย่อส่วนโลกของความรู้ให้พร้อมใช้ในทุกที่ ทุกเวลา และทุกสถานการณ์

 

คุณเขมนรินทร์ รัตนาอัมพวัลย์

 
  • สภาดิจิทัลได้พัฒนา Platform การเรียนรู้ digital เพื่อยกระดับความสามารถด้านดิจิทัลตั้งแต่พื้นฐานจนถึง advanced โดยเน้นแนวคิด lifelong learning เพื่อรองรับกับเทคโนโลยีที่ผันผวนและเปลี่ยนแปลง
  • Platform มี Partner กับไทยและต่างประเทศ นำเสนอกว่า 4000 หลักสูตร รองรับอาชีพใหม่ ๆ
  • ร่วมมือกับสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในการพัฒนานักศึกษาในสังกัดประมาณ 200,000 คน
  • พัฒนา content เพื่อพัฒนาสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ
  • พัฒนาสมรรถนะด้าน e learning ให้กับครูผ่านการอบรมต่าง ๆ
 

คุณสลิลาทิพย์ ทิพยไกรศร

  • ค้นหา Pain point ของผู้เรียนว่าเค้าอยากรู้อะไร อยากเรียนรู้แบบไหน เพื่อเป็นจุดตั้งต้น
  • ปรับหรืออุดช่องว่างในทักษะของครู พัฒนาความรู้และทักษะใหม่ ๆ ให้กับผู้สอน
  • ความรู้ของครูต้องเปลี่ยนแปลง: โลกธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ครูต้องตามให้ทัน หรือต้องนำการเปลี่ยนแปลงด้วยซ้ำ เช่น logistic e-commerce live-commerce sharing economy
  • ทักษะการสอนของครูต้องเปลี่ยนจาก lead class เป็น coaching
  • การใช้สื่อของครูต้องเปลี่ยนแปลง ใช้สื่อจากนอกห้องเรียน เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนั้นครูเองต้องทำแบบนี้ก่อน เพื่อจะนำนักเรียนไปสู่จุดนั้นได้
  • ทุกอย่างจะกลับไปที่ผู้สอนซึ่งเป็น ecosystem ที่สำคัญ ครูต้องปรับ mindset ให้เป็น active มากขึ้น ถ้าอยากให้นักเรียนเป็นอย่างไรครูก็ต้องเป็นแบบนั้น
  • ในมุมมองของสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานที่กำกับดูแล ต้องปรับเปลี่ยนด้วย ไม่ใช่แค่ครู นักเรียน ผู้ปกครอง มีความยืดหยุ่นให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลง เช่น การปรับกฏเกณฑ์ การประกันการศึกษา บริหารความเสี่ยง เข้าใจและวางแผน บริหารความต่อเนื่อง
  • ภาคธุรกิจต้องเข้ามามีส่วนร่วมในสถาบันศึกษามากขึ้น ไม่ใช่แค่ให้ความเห็นเกี่ยวกับหลักสูตร แต่อาจเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างหลักสูตรให้ตรงความต้องการของภาคเอกชนมากขึ้น เช่น การเรียนรู้ควบคู่ไปกับการปฏิบัติงาน

คุณไพรัช ชัยชาญ

  • ผู้ปกครอง กับครู มีความสำคัญเท่า ๆ กันในการสอนออนไลน์
  • กระทรวงสาธารณสุขควรเข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียนมากขึ้น เช่น ถ้าเปิด onsite แล้ว มีการติดเชื้อในโรงเรียน กระทรวงสาธารณสุขจะมีระบบการจัดการกับนักเรียนที่ติดเชื้ออย่างไร หน่วยงานอื่นต้องเข้ามาช่วยโรงเรียน เพื่อให้โรงเรียนและผู้ปกครองสบายใจและมั่นใจ ในการส่งนักเรียนกลับโรงเรียน

Infographic