สรุป Talk#1
Redesigning Future Education

ศ. ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์
ผู้อำนวยการ สสวท.
สรุปการบรรยาย
เป้าหมายของการออกแบบการจัดการศึกษาแห่งอนาคต
- ระบบการศึกษาต้องสร้างคนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง (COVID-19 Pandemic และ Digital Disruption) มีทักษะสำคัญต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับชีวิตในศตวรรษที่ 21 และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาสนับสนุนการใช้ชีวิตให้เป็นปกติสุข
- เดิม: จัดการเรียนการสอนให้รู้มากขึ้น ฉลาดขึ้น -> อนาคต: จัดการศึกษาเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างผาสุก
คำตอบของการจัดการศึกษาแห่งอนาคต: การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ
- การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ที่มุ่งเน้นการสร้างให้ผู้เรียนสามารถนำเอาความรู้ (Knowledge) และทักษะ (Skills) ไปใช้ในชีวิตได้ด้วยเจตคติที่เหมาะสม (Attitudes) อย่างเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น (Values) ผู้เรียนแต่ละคนจะเก็บเกี่ยวความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณค่า สานรวมกันเป็นสมรรถนะที่โดดเด่นและแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เพื่อที่จะเติบโตเป็นผู้ที่ทำประโยชน์ต่อสังคมได้ตามศักยภาพและความถนัดของตนเอง รวมทั้งอยู่ร่วมกันอย่างมีความเข้าใจคนอื่นมากขึ้น
- การฝึกสมรรถนะต้องเน้นการจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง
- การศึกษาควรสร้างให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีและเห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่น และสังคม ผ่านการจัดกิจกรรมเสริมสร้างตัวอย่างที่ดีและสร้างให้เกิดแรงบันดาลใจ
บทบาทของ สสวท. กับการออกแบบการจัดการศึกษาแห่งอนาคต
- สสวท. พร้อมจะเป็นผู้พัฒนา platform ที่เชื่อมต่อครู ผู้เรียน ผู้ปกครอง และสังคม เพื่อใช้ประโยชน์ในการให้ผู้เรียนรวมถึงบุคคลทั่วไปเข้ามาศึกษาในหัวข้อที่ตนเองสนใจได้ และเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
- การดำเนินงานที่สำคัญของ สสวท. เพื่อสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ได้แก่
(1) content digitization ปรับเปลี่ยนเนื้อหาจากสื่อกระดาษเป็นดิจิทัลคอนเทนต์
(2) Seamless Learning Platform สำหรับผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไป
(3) พัฒนาครูและหนุนเสริมให้ครูเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ เพื่อให้เท่าทันกับรูปแบบการเรียนที่เปลี่ยนไป
(4) พัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ และ
(5) การจัดให้มีรูปแบบที่หลากหลายของการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ โดยเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในโลกอนาคต
Infographic
